การดูแลแผลกดทับ และแนวทางในการรักษา

แผลกดทับ เป็นแผลที่ใช้เวลาในการรักษาค่อนข้างนาน และมักจะมีความเสี่ยงมากขึ้นด้วย ถ้าหากไม่ได้รับ การดูแลแผลกดทับ ที่ถูกต้อง แต่ถ้าหากมีการรักษาที่ดี ตัวของผู้ที่ทำหน้าที่ในการรักษา มีความรู้ความเข้าใจ ก็จะช่วยให้แผลของตัวผู้ป่วยหายได้เร็วยิ่งขึ้น และกลับมาใช้ชีวิตได้ปรกติ ดังนั้นแผลจะหายได้เร็วหรือช้า อยู่ที่ขั้นตอน วิธีการในการดูแลรักษาด้วย แต่ถ้าหากปล่อยปละละเลย ไม่ดีแลให้ดีตั้งแต่เนิ่นๆ จากที่หวังว่าจะหายได้ในเร็ววัน ก็อาจจะทำให้เกิดการลุกลาม และอันตรายมากขึ้นด้วย 

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดแผลกดทับ 

สำหรับสาเหตุที่มักทำให้เกิดแผลกดทับนั้น เกิดจากการที่แผลตรงส่วนต่างๆ ถูกกดทับเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวหนังเกิดความเสียหาย รวมถึงเนื้อเยื้อตรงส่วนที่ถูกกดทับถูกทำลาย จนกลายเป็นแผลขึ้นมา เรียกว่าแผลกดทับ ถ้าหากรุนแรงมากที่สุด แผลกดทับอาจจะกินไปจนถึงชั้นไขมัน เส้นเอ็นในร่างกาย รวมถึงกระดูกเลยก็ได้ หากมีการดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ อาการเหล่านี้ก็สามารถหายเป็นปรกติ  

  1. ส่วนใหญ่แล้วคนที่จะเป็นแผลกดทับนั้น จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุมากที่สด โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่ติดเตียง ที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตัวเองไปไหนได้ เป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่สุด  
  1. เกิดจากโรคประจำตัว โรคบางชนิดส่งผลกับแผลโดยตรง เช่นทำให้แผลหายยากมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น  
  1. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายร่างกายได้ หรือเคลื่อนย้ายได้ลำบาก เสี่ยงที่จะเป็นแผลกดทับได้ง่าย และลุกลามได้อย่างรวดเร็ว 
  1. เกิดจากการขาดสารอาหาร เช่น ปัญหาของร่างกายขาดน้ำ หรือคนที่มีผิวหนังบาง ก็มักจะเกิดความเสี่ยงเป็นแผลกดทับได้เช่นกัน 

วิธีการดูแลรักษาแผลกดทับในปัจจุบัน 

อย่างไรก็ตามในขั้นตอนของ การดูแลแผลกดทับ ให้กลับมาหายเป็นปรกติได้นั้น ก็สามารถทำได้เช่นกัน ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้คือ 

  • การดูแลบริเวณที่เป็นแผล คือการทำความสะอาด และหมั่นสังเกตอาการต่างๆ เพื่อจะได้รู้เท่าทันอาการแทรกซ้อนอื่นๆ 
  • การลดแรงตรงบริเวณที่กดทับ คือการเปลี่ยนท่านอนให้กับผู้ป่วย เพื่อเป็นการลดแรงกดทับตรงบริเวณที่เป็นแผล 
  • การเปลี่ยนที่นอน โดยที่นอนที่เหมาะสม จะต้องเป็นที่นอนที่รับน้ำหนักได้ดี และสามารถระบายอากาศได้สะดวก  
  • การผ่าตัด เป็นการรักษาด้วยการตัดเนื้อในส่วนที่ตายหรือมีการลุกลามออก เพื่อไม่ให้ลามไปยังส่วนอื่น 
  • การใช้ยารักษา เป็นการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งจะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน หรืออาการติดเชื้อได้ดี ช่วยให้แผลหายได้เร็วขึ้น 

สรุป 

จะเห็นว่าแผลกดทับจะมีความเสี่ยงที่ค่อนข้างมากเหมือนกัน ดังนั้น การดูแลแผลกดทับ จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ตัวของผู้ป่วยหายได้เร็วขึ้น และที่สำคัญควรมีการป้องกันตัวเองอยู่เสมอ เช่น การหมั่นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การดูแลรักษาความสะอาดของผิวหนังด้วยการอาบน้ำ การป้องกันผิวไม่ให้แห้งเกินไป โดยเฉพาะเวลาที่ออกแดด ก็จะเป็นการช่วยลดความเสี่ยได้เช่นกัน ถ้าหากรู้ว่าเสี่ยงที่จะเป็นแผลกดทับ ก็ควรปรึกษากับแพทย์ เพื่อทำการรักษาทันที จะได้ไม่ลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ และหายได้เร็ว

About the Author

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You may also like these